On-Page SEO VS Off-Page SEO คืออะไร ต่างกันอย่างไร เริ่มต้นทำ On-Page SEO จาก

ปรับแต่งเว็บไซต์แบบ On-Page SEO และ Off-Page SEO มีส่วนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ประสบความสำเร็จในการทำ SEO มากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกบนกูเกิ้ลได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการค้นหา แถมยังช่วยสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้

หัวใจหลักๆ อยู่ที่การทำให้เว็บไซต์อ่านง่ายเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด บทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องปรับแต่งเว็บไซต์ On-Page SEO และ Off-Page SEO อย่างไร ให้โดนใจ Google กัน

หัวข้อเกี่ยวกับ On-Page SEO ที่น่าสนใจ

On-Page SEO VS OFF-Page SEO คืออะไร

ทำ On-Page SEO

On-Page SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์หลักในบ้านเพื่อเพิ่มอันดับบนกูเกิ้ล

การทำ On-Page SEO สามารถปรับแต่งองค์ประกอบเว็บไซต์ได้หลากหลายส่วนเลย ไม่ว่าจะเป็น สร้างคอนเทนต์คุณภาพตามหลัก SEO , ปรับแต่ง HTML tag , ปรับแต่งรูปภาพและมีเดียบนเว็บ ช่วยให้คอนเทนต์ของเว็บหลักถูกใจ Search Engine ของกูเกิ้ล

On-Page SEO จะเน้นที่การปรับปรุงโครงสร้าง คอนเทนต์และเนื้อหาบนเว็บไซต์หลัก จนทำให้เสิร์ชเอนจิ้นค้นหาหน้าเว็บของคุณเจอง่ายขึ้นในระยะยาวและคนเสิร์ชหาแบรนด์ธุรกิจของคุณเจอได้รวดเร็ว กูเกิ้ลจะเลือกเว็บไซต์คุณภาพ โดยให้ดูจากความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ (Relevance) รวมถึงคำค้นหาของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ จึงควรคำนึงถึงเนื้อหาบทเว็บไซต์ ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยอิงจาก Keyword ที่คนเสิร์ชบ่อยที่สุด แล้วนำคำค้นหาเหล่านั้น มาใส่ตามส่วนประกอบต่างๆของเว็บ เช่น URL , คำอธิบายเว็บ , คอนเทนต์บทความ เป็นต้น นอกจากจะปรับแต่งเว็บไซต์ภายในแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การปรับแต่งเว็บจากนอก Site ด้วยนะ หลายคนเรียกเทคนิคนี้ว่า การทำ Off-Page SEO 

ทำ Off-Page SEO คือ การปรับแต่งปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ที่มีผลต่อการจัดอันดับของกูเกิ้ล (เป็นวิธีตรงกันข้ามกับ On-Page SEO) โดยจะปรับแต่งจากภายนอกเว็บ เพื่อทำให้หน้าเว็บมีคุณภาพและเพิ่ม Page Ranking ให้ดีขึ้น Off-Page SEO จะช่วยเพิ่มยอด Traffic ให้คนคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์หลักมากขึ้น 

เทคนิคการทำ Off-Page SEO จะใช้ Backlink เชื่อมโยงเว็บอื่นมาหน้าเว็บไซต์หลัก เพื่อเพิ่มคะแนนการจัดอันดับเว็บไซต์บนกูเกิ้ล เสริมพลังให้เว็บหลักเป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมส่งผลดีกับคะแนน Quality Score ไม่ว่าจะเป็นส่วน Relevance, Trustworthiness และ Authority

On-Page SEO VS Off-Page SEO ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง On-Page SEO VS Off-Page SEO อยู่ที่ขั้นตอนในการทำ หากจะโฟกัสที่การปรับแต่งหน้าโครงสร้างเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามหลัก SEO แต่ Off-Page SEO จะเน้นที่วิธีปรับแต่งปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มคะแนนการจัดอันดับในกูเกิ้ล

ทำ On-Page SEO มีอะไรบ้าง

On-Page SEO

เป้าหมายของ On-Page SEO คือ ทำให้เสิร์ชเอนจิ้นค้นหาเว็บเจอได้ง่ายและมีดีไซน์หน้าเว็บที่เป็นมิตรต่อการใช้งาน ตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย กูเกิ้ลมักจะเพิ่มคะแนนการจัดลำดับเว็บไซต์โดยดูจาก

  • หน้าเว็บหลักที่อ่านเข้าใจง่ายและมี Keyword ยอดนิยมตรงกลุ่มเป้าหมาย
  • ยอดทราฟฟิค (Traffic) คนคลิกเข้าชมหน้าเว็บไซต์นั้นๆจำนวนมาก
  • เนื้อหาเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อผู้อ่าน
  • จำนวนคะแนนการจัดอันดับคุณภาพเว็บไซต์ของกูเกิ้ล (SERP)

Checklist สิ่งที่ต้องดูในการทำ On-Page SEO

ผลลัพธ์การปรับแต่งเว็บไซต์หลัก (On-Page SEO) ให้ถูกต้องตามหลัก SEO มีส่วนช่วยเพิ่มคะแนนการจัดอันดับเว็บไซต์และทำให้เว็บติดหน้าแรกบนกูเกิ้ลได้ ก่อนอื่นเราต้อง รู้จักปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับนะ ซึ่งสิ่งที่ต้องดูในการทำ On-Page SEO มีดังนี้

1. URL 

URL คือที่อยู่ของเว็บไซต์ ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์บนเสิร์ชเอนจิ้น การปรับแต่ง URL โดยใส่คียเวิร์ด (Keyword) ที่ตรงกับคำค้นหาของกลุ่มเป้าหมายจะส่งผลดีต่อ SEO ได้

SEO Keyword

ยกตัวอย่างเช่น

  • ใส่ คียเวิร์ด (Keyword) สั้นๆ เป็นคำอธิบายเว็บไซต์
  • ใส่ คียเวิร์ด (Keyword) ในหน้าเว็บเพจหมวดอื่นๆของเว็บไซต์ จะช่วยให้กูเกิ้ลอัลกอริทึมค้นหาหน้าเว็บเจอได้ง่ายขึ้น

2. Title tag

On-Page SEO คือ

Title tag เป็น Tag ที่บอกชื่อของเว็บไซต์นั้นๆ ข้อความจะปรากฏบนส่วนท๊อปของเบราว์เซอร์ ช่วยบอกว่าหน้าเว็บนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งการใส่คียเวิร์ด (Keyword) ใน Title tag จะทำให้ Search Engine เข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น และมีผลต่อผลลัพธ์การจัดอันดับเว็บไซต์ได้

3. Meta Description

Meta description คือ คำอธิบายเนื้อหาสั้นๆของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ

On-Page SEO Checker

แม้การใส่คียเวิร์ด (Keyword) ใน Meta Description อาจได้มีผลต่อคะแนน SEO โดยตรง แต่ถ้ามีคนค้นหาข้อมูลด้วยการใส่ข้อความ คำค้นหายาวๆ ที่ตรงกับ Meta description ส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ถูกค้นเจอได้ง่าย และดึงดูดให้คนอยากคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ได้ แนะนำให้ปรับแต่ง Meta Description โดยใส่ Related Keywords แทนการใส่เฉพาะคียเวิร์ดนะ

4. Heading tags

Heading tags คือ หัวข้อแต่ละส่วนของบทความหรือเนื้อหาในเว็บไซต์

Bad Backlinks

เสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิ้ลจะให้ความสำคัญกับ Heading tags อย่างมาก ยิ่ง Heading tags ที่มีหัวข้อตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกำลังค้นหาและสนใจ ยิ่งเพิ่มโอกาสการค้นเจอเว็บไซต์คุณมากขึ้น

5. Alt tags

Alt tags เป็นคำอธิบายรูปภาพ ที่จะอยู่ใน HTML Code ของเว็บไซต์ ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์เวลาคนเสริช์หาภาพจากคีย์เวิร์ดสำคัญ การใส่ข้อความ คำยอดนิยมบน Alt tags มักช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ง่ายดายและรวดเร็ว 

ส่วนประกอบของ On Page SEO

Google Ranking Factor ส่งผลต่อ SEO อย่างไร

Google Ranking Factor

อันที่จริงการปรับแต่ง On-Page SEO ล้วนอิงมาจากปัจจัยของ Google Ranking ทั้งหมด และไม่ได้มีเรื่องของคีย์เวิร์ดอย่างเดียวนะ ที่คนทำ SEO พิจารณา แต่ยังมีส่วนประกอบเว็บไซต์อื่นๆ อีกที่ควรคำนึงถึง ปัจจัย SEO ที่มีผลต่อการจัดอันดับมี ดังนี้

Domain Factors

จะเน้นดูที่คุณภาพของโดเมนเป็นหลัก

  • อายุของ Domain เรื่องอายุของโดเมนอาจไม่ได้มีผลโดยตรง ถ้าเป็นเว็บไซต์เปิดใหม่ที่ติด Google Ranking อยู่แล้ว ถ้าใส่คีย์เวิร์ดที่ติดอันดับเพิ่มเข้าไป จะทำให้กูเกิ้ลอัลกอริทึมค้นหาเว็บเจอง่ายขึ้น
  • ใส่คีย์เวิร์ดในชื่อโดเมน การใส่ชื่อแบรนด์ หรือคีย์เวิร์ดบนชื่อโดเมนจะทำให้ Google ประเมินเพิ่มคะแนนความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ให้ดีขึ้น  (Relevant) 
  • ใส่คีย์เวิร์ดในชื่อโดเมนย่อย (Sub Domain) การใส่คีย์เวิร์ดใน Sub Domain มีผลต่อการจัดอันดับของ Google ranking ได้
  • ประวัติของโดเมน หากโดเมนเดิม มีประวัติเป็นสแปมมาก่อน หรือมีลิงค์ไม่ดีเยอะ จะส่งผลต่อการจัดอันดับบนกูเกิ้ลได้

Page-Level Factors

จะเน้นดูเรื่องเนื้อหาบนหน้าเว็บเพจเป็นหลัก การจัดลำดับของเนื้อหาให้น่าสนใจ โดนใจกูเกิ้ลอัลกอริทึม โดยควรใส่คีย์เวิร์ดสำคัญที่มีจำนวนคำค้นหาปริมาณมาก ลงในส่วนต่างๆของเว็บไซต์ เช่น Title Tag , Description Tag , Heading tags ต่างๆ (เรื่องนี้ผมได้อธิบายไปแล้วข้างบน) 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการทำ Latent Semantic Indexing Keywords in Content (LSI) ใส่คีย์เวิร์ด หรือวลีข้อความที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ลงในเนื้อหาเว็บไซต์ เพราะกูเกิ้ลจะให้ความสำคัญกับคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันด้วยเช่นกัน ถ้ามีคำใกล้เคียงที่หลากหลาย จะทำให้การจัดอันดับดีขึ้นด้วยเหมือนกัน

ส่วนนี้จะเกี่ยวกับการทำ SEO โดยตรง สิ่งที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษคือ ต้องทำให้เนื้อหาเว็บไซต์ตรงกับสิ่งที่กลุ่มหมายกำลังค้นหา และจัดเรื่องเนื้อหาเว็บไซต์ให้เข้าใจง่ายมากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจเว็บได้ง่ายที่สุด

Site-Level Factors

ส่วนนี้จะดูเรื่องคุณภาพของ Site ของเว็บเป็นหลัก โดยจะประเมินจาก

  • คอนเทนต์บนเว็บไซต์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ซึ่งกูเกิ้ลจะลดคะแนนเว็บไซต์ ถ้าหน้าเว็บไซต์ไม่มีการอัพเดตเนื้อหาที่ดี หรือบทความคุณภาพที่ใหม่บนหน้าเว็บไซต์
  • มีหน้า Contact Us บนเว็บไซต์ การใส่ข้อมูลช่องทางการติดต่อ (Contact Us) บนหน้าเว็บไซต์ จะทำให้หน้าเว็บมีความน่าเชื่อถือได้
  • ปรับแต่งเว็บไซต์สำหรับมือถือ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้สามารถรองรับอุปกรณ์ในมือถือได้ ตอบโจทย์ทำหน้าเว็บเป็นมิตรต่อการใช้ง่าย เพิ่ม User Experience ได้

Backlink Factors

การใส่แบ๊คลิงค์ที่ดี จะช่วยเพิ่มโอกาสการจัดอันดับบนกูเกิ้ลได้ ปัจจัยเรื่อง Backlink ที่ควรคำนึงถึงจะดูจาก 

  • จำนวนลิงค์บนเว็บไซต์ทั้งแบบ Internal Link และ Backlink จากเว็บอื่นๆ โดยใส่ลิงค์มาที่หน้าเว็บในเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน จะมีผลต่อกันจัดอันดับ
  • ลิงก์ที่มาจาก C-Class IPs หรือลิงค์ที่มาจาก IP แตกต่างกัน จะทำให้หน้าเว็บมีความน่าเชื่อถือ เพราะถูกอ้างอิงจากหลากหลายแหล่ง

User Interaction

จะเน้นเรื่องประสบการณ์ในการเข้าชมเว็บไซต์และอัตราการคลิกบนเว็บไซต์

  • ยอด Organic CTR เว็บไซต์ที่มี Organic CTR หรืออัตราคลิกเข้าชมจำนวนมาก โดยคลิกจากคีย์เวิร์ดหลัก จะมีผลต่อการจัดอันดับบนกูเกิ้ล 
  • จำนวน Bounce Rate มีผลต่อการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ หากหน้าเว็บมี Bounce Rate สูง แสดงว่าหน้าเว็บไม่ตรงกับสิ่งที่คนกำลังค้นหาอยู่
  • จำนวนทราฟฟิค (Traffic) ความถี่ในการเข้าชมเว็บไซต์มีผลต่อคุณภาพเว็บไซต์ เพราะกูเกิ้ลจะมองว่า หน้าเว็บนั้นๆ มีคุณภาพคนคลิกเข้าดูบ่อย จำนวนมาก
  • ระยะเวลาการอยู่ในหน้าเว็บไซต์  กูเกิ้ลจะให้ความสำคัญกับระยะเวลาการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ยิ่งคนอยู่ในหน้าเว็บนาน จะดีต่อคะแนน SEO

Special Google Algorithm Rules

อัลกอริทึมจะอัพเดตใหม่ทุกๆปี ซึ่งเทคนิคเก่าที่เคยทำได้ดี อาจไม่เห็นผลตอนนี้แล้ว ดังนั้นควรหมั่นอัพเดตกฎของกูเกิ้ลอยู่สม่ำเสมอกูเกิ้ลจะให้คะแนนเว็บไซต์โดยดูจากส่วนไหนบ้าง มาดูกัน

  • ความสดใหม่ของเนื้อหาและหน้าเว็บไซต์
  • Local Searches เวลาเราค้นหาข้อมูลจากคีย์เวิร์ด กูเกิ้ลจะวางหน้าเว็บไซต์ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆก่อน  
  • Featured Snippets กูเกิ้ลจะเลือก Featured Snippets ให้ปรากฏบนหน้าแรก โดยดูจากความยาวเนื้อหา รูปแบบ page authority และการใช้ HTTPs

Brand Signals

จะเกี่ยวกับการใช้ชื่อแบรนด์ธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เสิร์ชเอนจิ้น ค้นหาคีย์เวิร์ดแบรนด์เจอได้ง่าย มีเทคนิค ดังนี้

  • เว็บไซต์ Facebook ชื่อแบรนด์ หากเว็บเพจมีชื่อแบรนด์และมียอดคลิก Page Link ยอดทราฟฟิคจำนวนมาก เวลามีคนเสิร์ชชื่อแบรนด์ จะทำให้เว็บไซต์ Facebook ติดอันดับหน้าแรกได้
  • ใส่ชื่อแบรนด์ใน Anchor Text การใส่ชื่อแบรนด์ใน Anchor Text จากหน้าเว็บไซต์อื่น จะช่วยสร้าง Link building ให้กับหน้าเว็บได้อีกทางหนึ่ง
  • คียเวิร์ดแบรนด์ + คำที่เกี่ยวข้อง หากคีย์เวิร์ดแบรนด์ + คำที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ติดอันดับบนกูเกิ้ลแล้ว เมื่อมีการเสิร์ช คำที่เกี่ยวข้องของแบรนด์คู่แข่ง จะทำให้ชื่อแบรนด์ของคุณขึ้นบนเสิร์ชเอนจิ้นเช่นกัน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อการจัดอันดับของกูเกิ้ลเท่านั้น ถ้าคุณมีความเข้าใจเรื่องกฎต่างๆของกูเกิ้ลได้เป็นอย่างดี จะทำให้คุณสามารถปรับใช้กับเทคนิคทำ SEO  ได้อย่างเหมาะสม

เปิดคอร์ส SEO WordPress เรียนออนไลน์ตัวต่อตัว สอนสด สายขาว ได้ทุกวัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *