ปลั๊กอิน WooCommere คืออะไร
WooCommerce คือ ปลั๊กอิน หรือ ระบบที่ใช้ในการทำเป็นตระกร้าสินค้า เพื่อให้เว็บไซต์ธรรมดาทั่วไป กลายเป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนร้านขายของออนไลน์ ที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน ทำการจ่ายเงินผ่านช่องทางต่างๆ ตามที่กำหนดได้ โดยมีระบบหลังบ้านที่คอยอำนวยความสะดวกทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ใช้งาน (ลูกค้า) และส่วนของ Admin ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนส่ง การแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ การติดตามวัสดุ ระบบสต๊อคสินค้า ระบบสมาชิก เป็นต้น
เนื่องจาก WooCommerce เป็นที่นิยมมากในการใช้งาน จึงทำให้มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ และมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย และเป็นหนึ่งในปลั๊กอินที่ผู้ใช้ต่างพูดถึงในแง่ต่างๆ มากมาย
ความหมายที่ 2 ของ ปลั๊กอิน WooCommerce
เป็นแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สที่สามารถปรับแต่งได้อย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ประกอบการทั่วโลก ไปไกลกว่าขอบเขตของโซลูชันอีคอมเมิร์ซแบบดั้งเดิมและถูก จำกัด ด้วยจินตนาการของคุณเอง
จุดเริ่มต้นของ WooCommerce
เริ่มต้นขึ้นในปี 2008 โดยกลุ่มคนที่สนใจ WordPress และ คิดว่า WordPress เองน่าจะมีความสามารถมากกว่านี้ อีกทั้งยังเล็งเห็นช่องทางทางการทำระบบ ร้านค้าออนไลน์ ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงนั้น จึงรวมตัวก่อนเพื่อสร้าง WooCommerce และต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการขึ้น และได้รับความนิยมในเวลาต่อมามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับผู้ใช้งาน WordPress ที่มากขึ้นก็ส่งผลให้มีการนำระบบ WooCommerce เข้ามาใช้ในการทำเว็บไซต์ และสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับเหล่าบรรดาผู้ใช้งาน และ Developer เป็นอย่างมาก ยิ่งมีการพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้นในวงกว้าง และในปี 2020 มีผู้ใช้งานระบบ และ อัตราการดาวน์โหลดมากกว่า 10 ล้านครั้ง ซึ่งหากคิดเป็นค่าเฉลี่ยจะมากถึง 60% ของระบบร้านค้าออนไลน์ทั้งหมดบนโลกใบนี้
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ WooCommerce
การตั้งค่า และ วิธีการใช้งาน WooCommerce
สำหรับ ปลั๊กอิน WooCommerce ระบบตระกร้าสินค้า นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานค่อนข้างง่าย อีกทั้งยังสามารถเข้าใจในฟังก์ชั่นและการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าคนนั้นจะไม่มีความรู้มาก่อนก็ตาม วันนี้ MYWP จึงอยากนำเสนอการตั้งค่าเบื้องต้น และการใช้งาน WooCommerce อย่างละเอียด
วิธีการใช้งาน ปลั๊กอิน WooCommerce กับ หน้า Dashboard ที่ควรรู้
หน้า Dashboard หรือ หน้าที่รวบรวมข้อมูลสถิติของร้านไว้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าเราขายสินค้าในแต่ละวันได้เท่าไหร่ มีคนซื้อกี่คน การเติบโตของยอดขายเป็นอย่างไร กำไรที่ได้มาจากการขายอะไรบ้าง และอื่นๆ อีกมากมาย
การตั้งค่า WooCommerce ระบบตระกร้าสินค้า
General Setting
- Address ใส่ที่อยู่ หรือ ที่ตั้งร้านค้า
- Selling location กำหนดว่าจะขายที่ไหนบ้าง
- Shipping location กำหนดว่าจะส่งสินค้าไปยังที่ใดบ้าง
- Default customer location ลูกค้าอยู่ที่ไหนเป็นส่วนใหญ่
- Enable Taxes ใช้งานระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใข้งาน จะมี Tab เพิ่มขึ้นเพื่อให้กำหนดและตั้งค่าภาษีได้
Shop Page
- Shop page เลือกหน้าเพื่อให้เป็นหน้า Shop
- Add to cart behaviour ให้มีผลอย่างไร เมื่อแอดสินค้าลงตระกร้าแล้ว
Redirect to the cart page after successful addition
Enable AJAX add to cart buttons on archives
Measurement
- Weight unit เรามีการวัดสินค่าด้วยมาตรวัดแบบใด
- Dimension unit หน่วยที่ใช้วัดสินค้า ที่เป็นสินค้าจับต่องได้
Reviews
- Enable reviews กรณีใช้งานรีวิว ลูกค้าจะสามารถรีวิวสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้
- Show “verified owner” label on customer reviews โชว์รีวิวจากลูกค้าที่เจ้าของมีการ ยืนยันตัวตนแล้ว
รายละเอียด WooCommerce Taxes
- Prices entered with tax จะทำการรวมภาษีเข้ากับสินค้า หรือ แยกภาษีออกจากสินค้า
- Calculate tax based on ทำการคิดคำนวนภาษีจากการขนส่ง, ใบเสร็จรับเงิน, ที่อยู่ของร้าน
- Price display suffix ตัวย่อที่จะโชว์เพื่อให้รู้ว่าเป็น ภาษี
- Display tax totals โขว์ภาษีทั้งหมดจากสินค้าทั้งหมด หรือ แยกเป็นแต่ละตัว
ในหน้า Taxes เราสามารถที่จะกำหนดค่าของ ภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ของเราเองได้โดยการตั้งค่านั้นจะเข้าไปที่
Stand Rates
- Country Code โค๊ตใช้สำหรับประเทศต่างๆ เช่น ไทย TH, อื่นๆ
State Code
- Zip – Post Code ป้อนรหัสไปรษณีย์
- City รายการเมือง หากต้องการระบุมากกว่า 1 ให้คั่นด้วยเซมิโคลอน ( “,” ) กรณีเว้นว่าง (*) เพื่อใช้กับเมืองทั้งหมด
- Rate % คิดคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่าไหร่ / ป้อนอัตราภาษีเช่น 20.000 สำหรับอัตราภาษี 20%
- Tax Name ตั้งชื่อภาษีของคุณ เช่น VAT
- Priority อันดับความสำคัญของภาษี
- Compound ใช้กับภาษีก่อนหน้าทั้งหมดด้วยไหม
- Shipping ใช้ในการจัดส่งด้วยไหม
- Reduced Rates
- Zero rates
- อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
WooCommerce Shipping
ตั้งค่าเพื่อกำหนดค่าบริการ ค่าสิ่งสินค้าโดยคิดตามน้ำหนัก ขนาดสินค้า หรือ คิดตามระยะทาง และการคิดตามขนส่งแต่ละเจ้า ตามความต้องการ หรือตามที่ธุรกิจมีให้บริการ
- Shipping options การกำหนดออฟชั่นให้กับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ราคา ปริมาณ ผู้ให้บริการขนส่ง เป็นต้น
- Shipping classes กำหนดให้สินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น Class ต่างๆ เช่น
- สินค้าน้ำหนักเบา
- สินค้าน้ำหนักปานกลาง 5-10 กิโลกรัม
- สินค้าหนัก 10 กิโลขึ้นไป
ในตัวระบบของ WooCommerce จะมีส่วนที่ไว้ใช้ปรับวิธีที่ลูกค้าจะทำการชำระเงิน โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น
- Direct back transfer โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
- Check payments การชำระเงินด้วยเซ็ค
- Cash on delivery ( COD) ชำระเงินปลายทาง คือ ให้ลูกค้าสามารถชำระเงินปลายทางได้
- PayPal ลูกค้าชำระเงินผ่านระบบ PayPal
หน้า Account & Privacy
เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าสมาชิก และการกำหนด Privacy Policy ให้กับการสมัครสมาชิกและการใช้งานเว็บไซต์
หน้านี้เป็นในส่วนของการตั้งค่าให้กับ Email ซึ่งปกติแล้วจะถูกตั้งค่ามาอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ แต่ไม่แนะนำให้เปลี่ยนเพราะ ค่าต่างๆ ที่ถูกเซ็ตมานั้นดีอยู่แล้วนั่นเอง
การเพิ่มสินค้า WooCommerce
การเพิ่มสินค้า ลง WooCommerce ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มต้นจากการกำหนด
- ชื่อสินค้า Product name
- ใส่รายละเอียด Description หรือ วิธีการใช้งาน
- เลือกว่าสินค้าจะไปอยู่ในหมวดหมู่ไหน
- กำหนดราคาสินค้า
- กำหนดราคาสินค้า ( กรณีสินค้าลดราคา )
- การตั้งค่า วัน เวลา ที่จะให้การลดราคาของสินค้าชิ้นนี้สิ้นสุดเมื่อใด
- ระบบจัดการสินค้าคงคลัง ( Inventory )
- เพิ่มคำค้นหา Product tags ให้กับสินค้า
- Product image ภาพสินค้า จะโชว์เป็นรูปแรก
- Product gallery รูปสินค้าที่จะโชว์เป็นอันดับที่ 2 3 4 …
- กำหนดขนส่ง และรูปแบบ
- ใส่รายละเอียดสั้นเกี่ยวข้องกับสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์
หน้าสินค้าทั้งหมด
หน้าโชว์สินค้า ที่บ่งบอกถึงรายละเอียดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อสินค้า จำนวนสต๊อค ราคาสินค้า หมวดหมู่สินค้า คำค้นหา วันที่มีการเพิ่มสินค้าหรือเผยแพร่สินค้า ผลการทำ SEO ตามลำดับ
อ้างอิงแหล่งที่มา
https://woocommerce.com/
https://woocommerce.com/blog/