8 อันดับ ผู้ให้บริการ Web Hosting ต่างประเทศ ที่ดีที่สุดในปี 2024

มาทำความรู้จักกับ 8 อันดับ บริษัทผู้ให้บริการ Web Hosting ต่างประเทศ ที่ดีที่สุดในปี 2022

 

เนื่องจากมีคนสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับ Web Hosting ต่างประเทศ ว่าเราควรใช้โฮสติ้งของที่ไหนดี หรือ ผู้ให้บริการรายใดดีเป็นจำนวนมาก ผมเองจึงตั้งใจเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับคนที่ต้องการหา Hosting ดีๆ มีประสิทธิภาพในราคาไม่แพง และด้วยจำนวนของบริษัทที่มีให้บริการทางด้าน Hosting นี้เป็นจำนวนมาก จึงไม่ง่ายที่จะรู้ว่าที่ไหนใช้งานแล้วจะดี และหลายคนคงไม่มีโอกาสได้ทดสอบหรือทดลองใช้งานได้ทั้งหมด ผมจึงคัดโฮสติ้งต่างประเทศ 8 อันดับที่ดีที่สุดในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมามาให้ จะมี Web Hosting ของบริษัทไหนบ้างนั้น ไปติดตามกัน….

โฮสติ้ง   

ประเมินทุกเว็บโฮสต์โดยพิจารณาจาก

  1. โฮสมีราคาไม่แพง
  2. เวลาทำงาน สามารถทำงานได้ดี
  3. เวลาที่ใช้ในการโหลดดีเยี่ยม
  4. ฟีดเจอร์ที่มีให้เป็นอย่างไร
  5. ระบบรักษาความปลอดภัย

  

8 Web Hosting ต่างประเทศ ที่ดีที่สุดในปี 2022

  

1. BlueHost  –  บอกได้คำเดียวว่าดีในทุกอย่าง

BlueHost บอกได้คำเดียวว่าดีในทุกอย่าง

BlueHost ข้อดี

  1. การันตีการทำงานโดยเว็บไม่มีล่ม 99.99%
  2. ความเร็วในการโหลด (405 ms)
  3. มีฟังก์ชั่น ติดตั้งเวิร์ดเพลสได้ใน 1 คลิ๊ก
  4. ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน
  5. มีโดเมนฟรี และ เครื่องมือสร้างเว็บไซต์ให้ใช้งาน
  6. บริการช่วยเหลือ 24 ชม. 7 วัน ผ่านทางแชทและโทรศัพท์

  

BlueHost ข้อเสีย

ต้องใช้บริการ Package ที่มีระยะเวลาค่อนข้างเยอะ ถึงจะได้รับส่วนลด

  

รายละเอียด

Bluehost เริ่มตั้งขึ้นประมาณปี 2007 ณ ตอนนี้มีผู้ใช้บริการราวๆ 3,000,000 เว็บไซต์ เป็นผู้ให้บริการที่มีราคาไม่สูงอีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงที่สุดในปีนี้ โดยทำเวลาในการโหลด และ การเข้าถึงข้อมูลตลอด 24 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 99.99% และ 405 ms

 

ราคาเริ่มต้น $2.75 /เดือน สำหรับแพคเกจ 3 ปีขึ้นไป โดยหลังจากที่หมดอายุสามารถต่ออายุได้แต่จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่า (renews $7.95) สำหรับตัวช่วยสร้างเว็บและฟังก์ชั่น ลง WordPress ได้ด้วยคลิ๊กเดียวผ่านระบบ Cpanel จะให้กับคนใหม่ที่ยังไม่เคยมีเว็บไซต์มาก่อน และมีแบรนด์วิธ 50 GB สำหรับแพคเกจปกติ ได้รับการการันตีจาก WordPress.org ว่าเป็นโฮสติ้งที่ใช้งานกับ WordPress ได้ดีเยี่ยม

 

Bluehost สนับสนุนการใช้งานให้กับลูกค้าตลอด 24/7  และมี  SSL (security layer) ให้ทุกแพคเกจ มันจึงเป็นอะไรที่ง่ายสำหรับการได้เข้าถึงผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยในเวลาเดียวกัน BlueHost ยังรับประกันความพึงพอใจ สามารถคืนเงินได้ภายใน 30 วัน โดยจะได้รับเงินเต็มจำนวน

  

2. HostGator Cloud – ดีที่สุดสำหรับคลาวด์โฮสติ้ง

 HostGator Cloud ที่สุดสำหรับคลาวด์โฮสติ้ง 

ข้อดี HostGator Cloud

  1. การันตีการทำงานโดยเว็บไม่มีล่ม (99.99%)
  2. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (399 ms)
  3. บริการย้ายเว็บไซต์ฟรี
  4. ไม่มีการจำกัดแบนด์วิชท์และพื้นที่ที่ใช้งาน
  5. มีหลายดาต้าเซ็นเตอร์ เลือกได้ว่าต้องการที่ไหน
  6. สร้างอีเมล์แอคเคาร์ได้ไม่จำกัด

  

ข้อเสีย HostGator Cloud

ค่าใช้จ่ายในการต่ออายุค่อนข้างสูง

  

รายละเอียด

HostGator ก่อตั้งในปี 2002 และเป็นผู้ให้บริการแชร์โฮสติ้ง และ คลาวด์โฮสติ้งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีเว็บไซต์กว่า 2,000,000 เว็บไซต์ที่รันอยู่บน Server ของ HostGator

 

HostGator Cloud มีความจุดแกร่งในเรื่องของเวลาโหลด และ การทำงานที่มีความเสถียรอย่างมาก อีกทั้งยังมีความน่าสนใจตรงที่ความยืดหยุ่นในการเลือกฟีตเจอร์ต่าง อาทิเช่น สร้างอีเมล์ได้ไม่จำกัด ไม่จำกัดแบรนด์วิธ ไม่จำกัดพื้นที่เก็บข้อมูล และมี SSL certificate ให้ใช้งานฟรี มาพร้อมกับ Free 1 Click Install WordPress และที่โดนใจลูกค้าดูเหมือนจะเป็นการให้โดเมนเนมฟรี 1 ปี สำหรับการสมัครใช้งานระยะเวลา 3,6,12 เดือน

 

ถ้าคุณต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ในแบบหรือตามความต้องการของคุณเอง ทาง HostGator ก็มี ” Gator Website Builder” ให้คุณสามารถใช้งานได้ง่ายๆด้วยวิธีการ ลากและวาง เพื่อที่จะออกแบบเว็บไซต์

 

แพคเกจที่ถูกที่สูดของ HostGator คือ $2.74/เดือน เมื่อคุณเลือกจ่ายแบบ 2 ปี และสำหรับการต่ออายุใหม่อยู่ที่ $10.95/เดือน ทุกแพคเกจการันตีความพึงพอใจภายใน 45 วัน ถ้าคุณใช้งานแล้วไม่โอเค คุณสามารถทำการขอคืน และยกเลิกการใช้บริการได้

   

3. Hostinger – โฮสติ้งคลาวด์ที่ถูกที่สุด

 Hostinger โฮสติ้งคลาวด์ที่ถูกที่สุด 

ข้อดี Hostinger

  1. ได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บโฮสติ้งที่มีเวลาโหลดเร็วเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม (350 ms)
  2. มีราคาที่ค่อนข้างถูกมากเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการเจ้าอื่น ($0.99/mo)
  3. มีดาต้าเซ็นเตอร์ในอเมริกา ยุโรป และ เอเชีย
  4. ให้บริการ SSL certificate ฟรี
  5. ช่วยเหลือผ่านช่องทางแชท 24 ชม. 7 วัน ไม่มีวันหยุด

 

ข้อเสีย Hostinger

  1. ไม่มีโดเมนแถมให้เมื่อซื้อโฮสกับที่นี่
  2. สำหรับแพคเกจที่ราคาไม่สูง โฮสติ้งจะถูกจำกัดในส่วนของ Bandwidth

 

รายละเอียด

24 เดือนที่ผ่านมาโฮสติ้งของ Hostinger มีค่า uptime โดยประมาณอยู่ที่ 99.95% และมีความรวดเร็วในการโหลดมากถึง 350 ms ทางบริษัทมีฟีตเจอร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละแพคเกจ ทุกแพคเกจจะมีตัวช่วยสร้างเว็บให้ + ฟรี SSL certificate สำหรับทุกเว็บไซต์ รับประกัน 99.9% uptime และมีบริคอยการช่วยเหลือตลอด 24 ชม. 7 วัน   แพคเกจที่ถูกที่สุดเริ่มต้นที่ $0.99/เดือน (กรณีที่คุณเลือกจ่ายแบบ 48 เดือน) สำหรับการต่ออายุเพื่อใช้งานต่อ จะเริ่มต้นที่ $2.15/เดือน

 

บริการอื่นๆ ที่แนะนำ Cloud, Email, WordPress, VPS, Windows VPS hosting

( ทุกแพคเกจสามารถคืนเงินได้ภายใน 30 วัน )

   

4. GreenGeek – โฮสติ้งประหยัดพลังงาน

 GreenGeek โฮสติ้งประหยัดพลังงาน

ข้อดี GreenGeeks

  1. โหลดได้อย่างรวดเร็ว (445 ms)
  2. ความเสถียรของโฮสติ้ง (99.98%)
  3. มีเครือข่ายทั้งใน อเมริกา แคนนาดา และเนเธอแลนด์
  4. ฟรีสำหรับการย้ายเว็บไซต์
  5. ไม่จำกัดพื้นที่และแบนด์วิชท์

 

ข้อเสีย GreenGeeks

  1. มีเงื่อนไขในการคืนเงิน
  2. ค่าใช้จ่ายในการต่ออายุค่อนข้างสูง

 

รายละเอียด

GreenGeeks เปิดให้บริการมานานกว่า 12 ปี โดยมีเว็บไซต์ที่รันอยู่บนโฮสติ้งมากกว่า 500,000 เว็บ

 

ทุกแพคเกจ แถมฟรีโดเมน 1 ปี มี cPanel ให้ใช้งาน, ฟรี Wildcard SSL,  ฟรี PowerCacher, พื้นที่ใช้งานไม่จำกัด และไม่จำกัดการเข้าออกของไฟล์ ลูกค้าทุกคนสามารถใช้งานกับโดเมนได้ไม่จำกัดจำนวน สร้างอีเมล์ได้ไม่จำกัด และการสำรองข้อมูลรายวัน

 

กรณีที่เว็บไซต์ของคุณเริ่มใหญ่ขึ้น มีคนเข้าใช้งานมากขึ้น คุณสามารถที่จะอัพเกรดไปใช้เป็น VPS ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ อีกทั้งยังมีบริการย้ายเว็บไซต์ให้ฟรีอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากโฮสติ้งก่อนหน้านี้  ( รับประกันหากไม่พอใจบริการ สามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน)

 

5. DreamHost

 

DreamHost

ข้อดี DreamHost

  1. โหลดได้อย่างรวดเร็ว (648 ms)
  2. การันตีเว็บทำงานได้ตลอด
  3. มีแพคเกจจ่ายเป็นรายเดือน
  4. ใช้บริการแล้วไม่โอเค รับประกันคืนเงินใน 97 วัน
  5. ไม่จำกัดแบรนด์วิชท์และพื้นที่เก็บข้อมูล

 

ข้อเสีย DreamHost

  1. Uptime เพียงแค่ 99.4%
  2. ไม่มี Cpanel ให้ใช้งาน

 

รายละเอียด

ก่อตั้งเมื่อปี 1996, DreamHost คือผู้ให้บริการโฮสติ้งที่เก่าแก่ที่สุดเจ้าหนึ่ง มีคนใช้งานมากกว่า 1500000 เว็บไซต์ และยังมีการให้บริการในส่วนของ Hosting for app อีกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เมื่อ 24 เดือนที่ผ่านมา เราพบว่า DreamHost มีค่า Uptime อยู่ที่ 99.94% และ มีความเร็วประมาณ (648 ms) ในการโหลด

 

สิ่งที่ทำให้ดรีมโฮสมีความแตกต่างไปจากเจ้าอื่นๆ คงจะเป็นในการของการที่สามารถจ่ายเป็นรายเดือนได้ ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีใครทำในรูปแบบนี้ออกมา ซึ่งทำให้สามารถที่จะลดในส่วนของภาระทางด้านการเงินลงได้ในกรณีที่ต้องการใช้งาน แต่ไม่ได้ต้องการใช้หลายเดือนนั่นเอง

 

มีบริการ LetsEncrypt SSL + ไม่จำกัดปริมาณข้อมูลเข้า – ออกต่อเดือน

ช่วยเหลือตลอด 24/7 ในสหรัฐอเมริกา สามารถขอความช่วยเหลือผ่านทางไลฟ์แชทได้ด้วย (การันตีคืนเงินได้ภายใน 97 วัน หลังจากใช้งาน)

 

6. Siteground

 โฮสติ้งต่างประเทศ 2022 

ข้อดี Siteground

  1. ความเร็วในการโหลด ( เข้าถึง 673 ms )
  2. Stable uptime (99.99%)
  3. Knowledgable customer support
  4. 24/7 “Guru” chat support
  5. 20+ email accounts

 

ข้อเสีย Siteground

  1. Setup fee on monthly plans
  2. Limited cheap plan

 

รายละเอียด

SiteGround ก่อตั้งในปี 2004 โซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย มีฐานคนใช้งานอยู่กว่า 2 ล้าน และเป็นหนึ่งใน 3 ของผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ทาง WordPress.org  แนะนำ มี uptime (99.99%) และความเร็วในการโหลด (673 ms) จัดได้ว่าเป็นเว็บโฮสติ้งที่ติดหนึ่งใน 10 ของปีนี้ ทุกแพคเกจที่มีบน Siteground จะมาพร้อมกับ ตัวช่วยในการออกแบบ, อีเมล์, SSL, Cloudflare CDN, ระบบสำรองข้อมูลทุกวัน และการได้สิทธิ์เข้าถึง SSH access ฟรี โดยมีราคาเริ่มต้นที่ $3.95/ เดือน (กรณีที่ชำระเป็นรายปี หรือ 12 เดือน ) กรณีต่ออายุเริ่มต้นที่ $11.95/เดือน  แพคเกจนี้มาพร้อมกับพื้นที่ใช้งาน 10 GB และไม่จำกัดแบรนด์วิชท์ รวมถึงมีบริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง 7 วัน

 

SiteGround มีบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่ WordPress hosting, WooCommerce hosting, cloud hosting, enterprise hosting, and dedicated servers หากใช้งานแล้วไม่โอเค ขอเงินคืนได้ใน 30 วัน

 

7. A2Hosting

 

โฮสติ้งต่างประเทศ

ข้อดี A2Hosting

  1. โหลดได้อย่างรวดเร็ว (317 ms)
  2. เซิฟเวอร์ที่ปรับแต่งมาเพื่อใช้กับ WordPress โดยเฉพาะ
  3. ให้พื้นที่ข้อมูล ( Space data) และแบรนด์วิชไม่จำกัด
  4. มีคนคอยช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
  5. สร้างอีเมล์ได้มากกว่า 20 อีเมล์

 

ข้อเสีย A2 Hosting

  1. Average uptime (99.93%)
  2. ต่ออายุค่อนข้างแพง

 

รายละเอียด

A2 Hosting ก่อตั้งในปี 2002 โดยมีศูนย์ใหญ่ตั้งอยู่ที่อเมริกา ถูกจัดให้เป็นโฮสติ้งที่เร็วและสามารถปรับแต่งได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย LiteSpeed cache แต่ถึงอย่างนั้นประเด็นที่สำคัญในปีนี้ที่คือ โฮสติ้งของทาง A2 ได้มีการ Downtime อยู่ราวๆ 6 ชั่วโมงซึ่งถ้าเทียบกับเจ้าอื่นๆ ก็อาจจะเป็นต่อในเรื่องนี้  สำหรับราคาเริ่มต้นของแพคเกจ“Lite”  จะอยู่ที่ $2.96/เดือน (ต่ออายุ $7.99/เดือน) ลูกค้าสามารถติดต่อหรือขอความช่วยเหลือได้ 7 วัน | 24 ชั่วโมง | 365 วัน

 

8. Godady Hosting

 

Web hosting ต่างประเทศ

ข้อดี Godady Hosting

  1. เวลาในการโหลด (554 ms)
  2. การทำงานของโฮสติ้ง (99.97%)
  3. ให้พื้นที่จุใจ 100 GB
  4. มี Cpanel & Website Builder ให้
  5. การันตีการทำงานที่มีความเสถียรถึง 99.90%

 

ข้อเสีย Godady Hosting

  1. มีค่าใช้จ่าย SSL & Email
  2. ไม่มีบริการย้ายเว็บไซต์ให้

 

รายละเอียด

GoDaddy คือ ผู้นำในการให้บริการโฮสติ้งที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันมีเว็บไซต์ถึง  44 ล้านเว็บ บนโฮสติ้งของบริษัท ซึ่งบริษัทเองยังเป็นหนึ่งในรายใหญ่ที่ให้บริการจดโดเมนไปทั่วโลก มีสาขาอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น ทางบริษัทจึงได้มีการพัฒนาโฮสติ้งที่จะสามารถรองรับในสเกลที่เล็กและใหญ่ได้อย่างคล่องตัว

 

ค่าบริการโฮสติ้งเริ่มต้นที่ $4.33/เดือน (ต่ออายุ $8.99/เดือนเท่านั้น) และจะมาพร้อมกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 100GB อีกทั้งยังไม่จำกัดแบรนด์วิช มีระบบป้องกัน DDOS Attack อีกด้วย แต่ถึงแม้จะดูว่ามีหลายอย่างที่ให้ฟรี แต่ก็มีที่ไม่ฟรีด้วยเช่นกัน อาทิเช่น SSL, Email เป็นต้น

 


 

หมายเหตุ:

แบรนด์วิชท์ คือ ปริมาณการถ่ายเทข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ถ้าเรียกง่ายๆ ก็คือ ปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลนั่นเองโฮสติ้ง คือ พื้นที่ที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูล โดยมีความจุที่แตกต่างกันออกไป เปรียบเสมือน Warehouse ที่ใช้เก็บของนั่นเองโดเมน คือ ชื่อที่ใช้เรียกเว็บไซต์ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย โดยปกติแล้วโดเมนจะมาในรูปแบบของ IP Address เช่น 202.85.332.22 ซึ่งจำได้ยาก จึงมีการคิดค้นชื่อเพื่อใช้ในการระบุตำแหน่งต่างๆ ของ IP Address ขึ้น ซึ่งต่อมาเราเรียกมันว่าโดเมนเนม

 

การตรวจสอบ Web Hosting ต่างประเทศ แต่ละบริษัทนั้นได้กำหนดกระบวนการไว้ดังนี้

 

1. ซื้อโดเมนจากผู้ให้บริการแต่ละเจ้าที่ให้บริการโฮสติ้ง

เราซื้อโดเมนจากผู้ให้บริการโฮสติ้งรวมแล้วประมาณ 20 บริษัท เพื่อให้การทดลองในครั้งที่มีความแม่นยำมากที่สุด

ตย. เช่น https://___.siteground.com เป็นต้น 

 

2. ทำการซื้อ Package ที่ต่ำที่สุดของแต่ละเจ้าโดยให้มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด

ผู้ให้บริการโฮสติ้งเว็บไซต์แต่ละเจ้ามีแพ็คเกจไม่เหมือนกัน จึงเลือกใช้งานสเปคที่ต่ำที่สุดที่มีให้ของแต่ละบริษัท

 

3. เชื่อมต่อโดเมนกับโฮสติ้งของผู้ให้บริการแต่ละเจ้า

หลังจากที่ได้ทำการเชื่อมต่อโดเมนและ เราได้ทำการติดตั้ง WordPress และ ธีม ในเวอร์ชั่นที่เหมือนกันทุกโฮสติ้ง เพื่อที่จะได้ให้ผลไม่คลาดเคลื่อน

 

4. รวบรวมข้อมูลผลของการใช้งาน Hosting เป็นเวลาอย่างน้อย  1 ปี

เราใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการรับรองผล และเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากที่สุดตัวหนึ่ง นั่นคือ Pingdom โดย Pingdom นั้นจะสามารถตรวจสอบเว็บไซต์ในส่วนของ Uptime & Load Time ได้ในทุกๆ 1 นาที โดยสามารถดูผลได้จากที่นี่ (ข้อมูลที่ยังอัพเดท)

 

5. สอบถามความคิดเห็นจากคนที่ใช้บริการเว็บโฮสติ้งแต่ละเจ้าโดยยึดในเรื่องของความเร็วเว็บไซต์เป็นหลัก

สอบถาม และ พิจารณาจากรีวิวของลูกค้าแต่ละคนจากเว็บไซต์จัดอันดับรีวิวโฮสติ้งต่างประเทศที่เชื่อถือได้

  

________________________________________________________________

 

แล้วถ้าเป็นคุณ คุณจะใช้ Web Hosting ของที่ไหน เพราะอะไร ผมรู้ว่าคุณมีคำตอบอยู่แล้ว ^^ 

ขอให้สนุกกับการเลือกใช้งานครับ

 

……. เพิ่มเติม ………

สนใจเรียน WordPress ตัวต่อตัวแบบ Live Stream ด้วยโปรแกรม ZOOM หรือ Webex ได้แล้ววันนี้โปรโมชั่นลด 10% จากราคาปกติ

ดูวันว่าง และ จองเวลาเรียน ที่นี่

  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *